ฝ่ายเภสัชกรรม

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ย้อนกลับ

การคัดเลือกยาเข้าบัญชียาโรงพยาบาลศรีนครินทร์


การคัดเลือกยาเข้าบัญชียาโรงพยาบาลศรีนครินทร์


     การคัดเลือกยาเพื่อใช้ในโรงพยาบาลเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเภสัชกรรม ประกอบด้วยผู้บริหารโรงพยาบาล หัวหน้าภาควิชา หัวหน้างานบริการพยาบาล หัวหน้างานเภสัชกรรม และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก แต่การดำเนินงานของคณะกรรมการ ฯ ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่คณะกำหนดไว้ในการดูแลและบริหารระบบยาในโรงพยาบาล เนื่องจากมีรายการยาที่เสนอเข้ามาเพื่อขอนำมาใช้ในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีสามารถพิจารณาเรื่องสำคัญต่างๆ เพื่อติดตามประเมินการบริหารระบบยาของโรงพยาบาล คณะกรรมการ ฯ จึงเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเภสัชกรรมหรือคณะทำงานขึ้นโดยคัดเลือกจากตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอความเห็นในกลุ่มยาที่รับผิดชอบตามความถนัด เพื่อให้แพทย์ผู้มีบทบาทในการรักษาพยาบาลอย่างแท้จริงมีส่วนร่วมในการพิจารณานำยาเข้ามาใช้ในโรงพยาบาล จึงได้มีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเภสัชกรรมเพื่อช่วยกลั่นกรองการเสนอยาเข้าโรงพยาบาล มีรายละเอียดดังนี้


1.คณะอนุกรรมการเภสัชกรรม ประกอบด้วย
1.1.คณะอนุกรรมการพิจารณายาที่ใช้รักษาโรคทางจิตและประสาท
1.2.คณะอนุกรรมการพิจารณายาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ และวัคซีน
1.3.คณะอนุกรรมการพิจารณายาโรคหัวใจและหลอดเลือด
1.4.คณะอนุกรรมการพิจารณายาเคมีบำบัด
1.5.คณะอนุกรรมการพิจารณายาต้านอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์
1.6.คณะอนุกรรมการพิจารณายาที่ใช้รักษา Metabolic disorders
1.7.คณะอนุกรรมการพิจารณาสารอาหารให้โดยวิธีพิเศษ


2.หน้าที่ของคณะอนุกรรมการเภสัชกรรม
     คณะอนุกรรมการเภสัชกรรมที่ได้รับแต่งมีวาระ 2 ปี ดำเนินงานช่วยเหลือคณะกรรมการเภสัชกรรมเพื่อให้การบริหารระบบยาของโรงพยาบาล บรรลุวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการเภสัชกรรม โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการเภสัชกรรมไว้ดังนี้
2.1.การคัดเลือกยาเข้า
2.1.1.พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมในการพิจารณานำยาเข้าและตัดออกจากบัญชียาโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เสนอ
        ต่อคณะกรรมการเภสัชกรรมโดยใช้หลักวิชาการ (Evidence based) และอาศัยหลักเกณฑ์การเสนอยาเข้าเภสัช
        ตำรับของโรงพยาบาลเป็นแนวทาง โดยต้องสรุปผลการพิจารณาทั้งข้อดี ข้อเสีย และนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการ
        พิจารณาเปรียบเทียบคุณสมบัติของยาใหม่ที่เสนอนำเข้าบัญชียาโรงพยาบาลกับยาที่มีอยู่เดิมต่อคณะกรรมการ
        เภสัชกรรมเพื่อลงมติ รายละเอียดที่สรุปควรพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ส่วนประกอบทางเคมีของตัวยาสำคัญ (Active Ingredient)
  • ข้อบ่งใช้ของยา (Indication)
  • ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์
  • Drug  availability (ข้อมูลจากโรงงานผู้ผลิต)
  • Side effect
  • Drug interaction
  • Adverse drug reaction
  • Drug compliance
  • Route of administration
  • Doses/ Preparation/ Packing
  • Evidence based (รายงานผลการใช้ยาทางคลินิก)
  • ประมาณการยาที่คาดว่าจะใช้ใน indication ที่ระบุ
  • กำหนดจำนวนยาที่วางทดลองใช้

2.1.2.พิจารณาราคายาให้เหมาะสม
2.1.3.ส่งเสริมการใช้ยาในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น สนับสนุนให้มีการติดตามประเมินผลการใช้ยาที่เป็น
        กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ยาที่ต้องเฝ้าระวัง ADR   เป็นต้น
2.1.4.ศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้ยาต้นแบบและยาเลียนแบบที่ใช้ในโรงพยาบาลที่มี Generic name เดียวกัน
2.1.5.กำหนดรูปแบบการศึกษาและทดลองใช้ยาใหม่ที่จะนำเข้าเพื่อทราบผลการใช้ยาและคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบการ
       พิจารณานำยาเข้า
2.1.6.ในเบื้องต้นของการเปลี่ยนแปลงระบบการพิจารณาคัดเลือกยา ข้อสรุปที่เป็นลายลักษณ์อักษรของคณะ อนุกรรม
        การ ฯ ถือว่าแพทย์ผู้ใช้ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองอย่างดีแล้ว คณะกรรมการเภสัชกรรมจะพิจารณาเฉพาะ
        รายการยาที่มีปัญหาและยังไม่มีข้อสรุปเท่านั้น
2.2.การคัดเลือกยาออก
คณะกรรมการเภสัชกรรมได้กำหนดเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกยาออกเพื่อให้คณะอนุกรรมการได้พิจารณาร่วมกับการนำยาเข้าโดยข้อมูลจะได้จากเภสัชกรที่เป็นอนุกรรมการพิจารณาร่วมด้วย การคัดเลือกยาออกมี 3 กรณี คือ
2.2.1.ยาที่มีอัตราการใช้น้อย ดำเนินการพิจารณาตัดรายการยาออกรายปี เสนอโดยงานเภสัชกรรม
2.2.2.ยาที่ถูกเสนอตัดออกขณะที่มีการเสนอยาเข้าและไม่มีผู้คัดค้าน กล่าวคือทุกครั้งที่มีการพิจารณานำยาเข้าเภสัช
        ตำรับ ต้องพิจารณายาที่มีฤทธิ์คล้ายคลึงกันควบคู่ไปด้วย หากเห็นยาใดสมควรนำออกให้พิจารณาร่วมกันไปเลย
        แล้วสรุปข้อเสนอผ่านคณะกรรมการเภสัชกรรม
2.2.3.ยาที่ไม่มีผู้ผลิตจำหน่ายหรือเพิกถอนทะเบียนยาไปแล้ว


3.ข้อมูลประกอบการพิจารณา
3.1.งานเภสัชกรรมจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างยาใหม่ที่เสนอเข้าและยาที่อยู่ในเภสัชตำรับ
3.1.1.Comparative efficacy และ Adverse Drug Reactions กับยาที่มีจำหน่ายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รวมทั้งข้อมูล
        ด้านความคงตัวของยา
3.1.2.เปรียบเทียบมูลค่าการรักษาของยาในกลุ่มเดียวกัน
3.1.3.อัตราการใช้ของยากลุ่มที่ออกฤทธิ์คล้ายคลึงกันที่มีจำหน่ายแล้วใน รพ.
3.1.4.เอกสารอ้างอิงตามที่แพทย์เสนอมาหรือบริษัทยาเป็นฝ่ายนำเสนอมาประกอบการพิจารณา
3.1.5.เอกสารรับรองคุณภาพยา ได้แก่ แหล่งที่มีของวัตถุดิบมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) ใบรับรองการวิเคราะห์ของกรม
        วิทยาศาสตร์การแพทย์หรือคณะเภสัชศาสตร์ รายงานการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ที่ทำการศึกษาในประเทศไทย
3.2.ภาควิชาฯ หรือคณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้จัดเตรียมข้อมูลจาก CPG หรือ Evidence based อื่นๆ ประกอบการพิจารณา
 

41 เดือนที่แล้ว
เกี่ยวกับ